Saturday, October 17, 2015

การสร้างนวัตกรรมในชั้นเรียน ในงาน EDUCA


การสร้างนวัตกรรมในชั้นเรียนโดย อาจารย์แหวว สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา




อาจารย์ให้พวกเราเขียน 4 หัวข้อลงในกระดาษ >>> ผมขอลองวิเคราะห์สิ่งที่อาจารย์ให้พวกเราทำด้วยความเข้าใจของผมเอง ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูม (Bloom's taxonomy)



1) เรื่องที่เรามีเราเกิดคำถามอะไรบ้าง >>> การเรียนโดยปราศจากคำถาม ไม่มีแรงบันดาลใจที่จะหาคำตอบนั้นให้ประสิทธิภาพด้อยกว่า
2) วันนี้เราได้ทำอะไรไปบ้าง >>> เป็นการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ การเรียนรู้ขั้นจดจำ (Remember)
3) ผลที่เกิดขึ้นของสิ่งที่ทำลงไป >>> ขั้นนี้ถือว่าเป็นการเรียนรู้ระดับเช้าใจ (Understand)
4) จะไปทำอะไรต่อไป >>> เรียนรู้แล้วไม่ได้นำไปใช้ การเรียนก็จะไม่มีความหมาย ถ้าเราสามารถบอกถึง การกระทำต่อไปได้ เราจะเรียนรู้ได้ในระดับนำไปใช้ (Apply)


หลังจากนั้นอาจารย์เปิดคลิปจาก Teachers as learners ซึ่งนำเสนอโรงเรียนที่มีบริบทดังนี้ เป็นโรงเรียนอังกฤษ ขนาดเล็ก ระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา ซึ่งโรงเรียนนำหลักสูตรหน้าที่พลเมือง เข้ามาสอนเด็กๆตั้งแต่ยังเล็ก ผ่านกิจกรรม 4 กิจกรรมซึ่งผมคิดว่าเราสามารถนำมาใช้บูรณาการกับการอบรมหรือการสอนได้ กิจกรรมได้แก่
1) กิจกรรมศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง 40-45 นาทีในช่วงแรกของวัน ผู้เรียนจะเริ่มศึกษาในสิ่งที่พวกเขาสนใจ ส่วนคุณครูมีหน้าที่อำนวยความสะดวก เตรียมอุปกรณ์ สังเกตนักเรียน และมีการช่วยเหลือเล็กน้อยเท่านั้น
2) คุณครูจะนำสิ่งที่แปลกสร้างความสนใจกับเด็ก และนำให้ผู้เรียนเริ่มตั้งคำถาม สิ่งนี้คืออะไร ไว้ใช้ทำอะไร ทำไมจะต้องเป็นเช่นนี้และสิ่งนี้จะนำไปใช้ทำอะไรได้อีกไหม >>> การเรียนรู้อย่ามีจุดหมายจะทำให้คนเราเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆดีขึ้น และจะเป็นการสอนให้นักเรียนให้เหตุผลกับคำถามของตนเอง ว่าทำไมคำถามของเขาจึงเป็นคำถามที่ดี การให้เหตุผลยังนำมาซึ่งการรับฟังของผู้ใหญ่เมื่อเด็กมีการร้องขอ ที่นี้จะสอนเสมอว่าการตอบว่าใช่หรือไม่ใช่จะต้องมีเหตุผลประกอบเสมอ
3) สภาโรงเรียน จะมีการเลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงระบบในโรงเรียน สอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะใช้สิทธิของตนเอง
4) กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน รุ่นพี่ช่วยรุ่นน้อง นอกจากสอนสิทธิแล้วและนักเรียนยังมีหน้าที่ต้องตอบแทนสังคม ด้วยการช่วยเหลือผู้อื่น สอนให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับความแตกต่างของแต่ละคนในสังคม ในกิจกรรมนี้คุณครูมีหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์ จดบันทึกข้อมูล "ถ้าเราไม่ทำการบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นมันจะหายไป"


สถานที่เขียน chilling house coco walk ราชเทวี ไปพร้อมกับดนตรีสดเพราะๆ
ฟ้า >>> จูบ >>> อยู่ต่อเลยได้ไหม >>> รถของเล่น >>>ซินเดอเรล่า >>> ใกล้ >>> ชูวับชูวับ >>> กะหล่ำปลี

Friday, October 16, 2015

บรรยาย Neo-humanist ในงาน EDUCA


Neo-humanist นิวโอฮิวแมนนีส : การประยุกค์นิวโอฮิวแมนนีสไปใช้ในโรงเรียน
ผู้บรรยารย: รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



นิวโอฮิวแมนนีส เป็นจิตวิทยา ที่ใช้วิธีการด้านบวก ในการพัฒนาให้เป็นคนใหม่


อาจารย์เริ่มด้วยคำถามที่คนส่วนใหญ่ พ่อแม่ คุณครูมักจะถามกันเกี่ยวกับกระบวนการนี้คือ
ใช้วิธีการด้านบวกคนเราจะประสบความสำเร็จได้จริงหรือ...?
ขอท้าวความซักเล็กน้อยว่าเหตุใด พ่อแม่ ครู อาจารย์ถึงมักถามคำถามเช่นนี้ เพราะในสังคมไทย การที่พวกเราใช้การว่า ขู่เด็กในการให้เด็กเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่ต้องการ ทำได้ง่าย เร็วและเห็นผล ทำไมเราจึงต้องใช้วิธีด้านบวกด้วย

อาจารย์ยกตัวอย่างเหตุการณ์เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ โดยไม่ได้บอกว่าวิธีไหนกันแน่ที่เป็นวิธีที่ถูกต้อง ขอให้ทุกคนลองอ่านแล้วคิดตามดูนะครับ

ตัวอย่างแรก ข่าวโค้ชเช ที่ใช้การลงโทษตบเด็กจนเกิดบาดแผล ซึ่งคนในสังคมในช่วงนั้นเห็นด้วยคล้อยตามกับโค้ชมากกว่า สิ่งที่โค้ชเชพูดออกสื่อขึ้นมาคือ "ตบแค่นี้เป็นแผลแต่สองสามวันก็หายทำไมถึงทนไม่ได้ ผมตบเขาถึงไปแข่งระดับโลกได้"(คำพูดไม่ได้ตรงเป๊ะนะครับ) ขอย้ำว่าในที่นี้ไม่ได้เขียนเพื่อตำหนิใครแต่ขอเป็นตัวอย่างในการอธิบายเฉยๆนะครับ จากตัวอย่างแรก อาจารย์ตอบว่าจริงที่โค้ชเชพูดนั้นถูกต้อง แผลทางกายนั้นหายได้ แต่แผลทางใจนั้นยากที่จะหาย ประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาสู่ชีวิตคนเราถูกเก็บและฝังลึกในจิตใต้สำนึก

ขอพูดเรื่องจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกซักเล็กน้อย
จิตสำนึก คือประสาททั้ง 5 ของคนเรา เห็น ได้ยิน สัมผัส รส กลิ่น (ซึ่งตัวเห็นจะส่งผลกับจิตใต้สำนึกมากที่สุด) ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในจิตสำนึก ประสบการณ์ต่างๆ จะถูกเก็บไว้ในจิตใต้สำนึก (Subconscious mind) ซึ่งเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้ตัวเราเป็นเราในทุกวันนี้ และที่สำคัญชีวิตในวัยเด็กจะเก็บข้อมูลตรงนี้มากที่สุด


ถ้าคนที่อยู่ในวงการของธุรกิจสัมมนาคงจะรู้จักพวก Landmark education ซึ่งจะไปแก้ไขกับเรื่องจิตใต้สำนึกเหล่านี้ ปมบางอย่างเราอาจจะไม่รู้ที่มาหรือไม่เคยตั้งคำถาม กลับเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้งเราไว้ ตอนนี้ผู้เขียนกำลังศึกษาเรื่องจิตตปัญญาศึกษาอยู่ว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้หรือไม่

มีจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกแล้ว ก็มีจิตเหนือสำนึก อาจารย์พูดสั้นๆไว้ว่าคนจะเป็นยอดคนได้ต้องพัฒนาในส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น โทมัส เอดิสัน ที่คิดหลอดไฟได้นั้นไม่ได้เกิดจากจิตสำนึกหรือจิตใต้สำนึก หรืออะคลีมีดิสที่คิดวิธีหาตรวจสอบมงกุฏทองคำได้จากการแช่น้ำ เป็นที่น่าสังเกตุว่า ความคิดใหญ่ๆจะเกิดขึ้นเมื่อเราผ่อนคลาย

จิตใต้สำนึกนั้นมีผลถึง 93% ของสิ่งที่เราแสดงออกมา และที่เหลือเป็นผลของจิตสำนึก

จิตวิทยานีโอฮิวแมนนีช

หนึ่งในนักจิตวิทยาที่คิดทฤษฎีที่ส่งผลต่อคนทั้งโลกคือซิกมันด์ ฟรอยด์ นอกจากนี้ยังมีพาฟลอฟ เรื่องการทดลองผลตอบสนองต่อกระดิ่งกับการให้อาหารสุนัข นอกจากนี้ก็ได้มีการทดลองมากมายกับสัตว์หลายชนิด จนถึงช่วงหนึ่งคนก็เริ่มมีคำถามว่าสิ่งที่ทดลองกับสัตว์จะใช้กับมนุษย์ได้หรือ แล้วเราจะกลายเป็นสัตว์มากขึ้นไหมถ้าทำตามแนวคิดนี้

การใช้ทฤษฎีกลุ่ม Animality behaviority เห็นได้ชัดในสังคมการฝึกนักกีฬา สิ่งที่น่าตกใจมากคือความคิดที่พ่อแม่ ใช้ความรุ่นแรงกับลูก เพื่อให้ลูกเข้มแข่ง ก้าวร้าว เพื่อที่จะสู้กับคู่ต่อสู้ในสนาม นักกีฬาว่ายน้ำที่เก่งที่สุดอยู่ที่ประเทศจีน เขาใช้การฝึกที่ค่อนข้างรุนแรงเช่นกัน คือเมื่อใดที่นักกีฬาเหนื่อยและเอามือไปแตะขอบสระ ผู้ฝึกซ้อมจะเอาเข้าเหยียบมือนั้นทันที ผลที่ตามมาจากการทำเช่นนั้นคือ นักกีฬาเก่งจริง ได้รางวัลระดับโลก แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือนักกีฬาเหล่านั้นจะตกอันดับในปีต่อมา เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่อาจจะควบคุมตนเองได้เมื่ออยู่ในสนาม เกิดความทรมานในจิตใจทุกครั้งที่ไปเล่นกีฬานั้นๆ

Animal Psychology vs. Human Psychology
ถ้าเทียบกันระหว่างการใช้ด้านลบฝึกนักกีฬา กับการใช้ด้านบวกฝึกนักกีฬา ด้านบวก ด้านบวกนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จแล้วอย่าง โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ เขามีความสุขกับการเล่นกีฬาและยังคงพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

กลับมาที่ซิกมันด์ ฟรอยด์ อาจารย์บอกแนวคิดของตนเองว่า จริงๆแล้วคนที่มีอิทธิพลกับโลกในด้านความคิดไม่ใช้ฟรอย แต่เป็นอาจารย์ของฟรอย นั้นคือชาร์ลส์ ดาร์วิน เรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่บอกว่า "ผู้ที่แข่งแกร่งกว่าจะอยู่รอด ผู้ที่อ่อนแอจะตายไป" มันเป็นจริงสำหรับสัตว์ อาจารย์ยกตัวอย่างอุปมาอุปมัยที่น่าสนใจขึ้นมา

สิงโตเวลามันเห็นกวางขาเจ็บอยู่ มันจะกินกวางตัวนั้น และเมื่อมันอิ่มมันจะนอนพัก แต่มนุษย์ความต้องการนั้นไม่มีที่สิ้นสุด ต้องการแล้วก็อยากได้มากขึ้น ในทางกลับกันสิงโตเมื่อเห็นกวางเจ็บจะไม่เข้าไปช่วยเหลือ แต่คนสามารถเลือกที่จะช่วยได้


บรรยายครั้งนี้ไม่มีพักเลย แต่มีการปรับคลื่นสมองแทน ปรับคลื่นสมองให้ต่ำลงด้วยการทำสมาธิ ผมต่ำมากจนเกือบจะหลับไป ระหว่างทำสมาธิอาจารย์ก็พูด และให้จินตนาการได้ด้วย พี่ที่นั่งข้างๆก็ถามขึ้นมาว่าอาจารย์พูดคำนี้ด้วยหรอ...ภาวะคลื่นสมองต่ำ



ขอคั่นรายการด้วย clip นกกระจอกสั้นๆ สำหรับคนที่ยังไม่ได้ดูผมว่าซึ้งดีนะ


I.Q. และ E.Q. เป็นที่รู้กันว่าเราจะมีเพียง I.Q. ไม่ได้ จุดเริ่มต้นที่ทำให้คนไทย เริ่มตั้งคำถามกับเรื่องนี้ คือเมื่อเกิดเหตุการณ์หมอที่ฉลาดมากๆ แต่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ก่อเหตุฆ่าหั่นศพ

E.Q. นั้นแปรผันตามสภาพแวดล้อมร้อยละ 90 ถึง 95 ส่วนพันธุ์กรรมมีผลน้อยมาก การพัฒนา E.Q. นั้นเกิดจากการเสริมแรงทางบวก (Empower)

Empower ที่อาจารย์แนะนำมีด้วยกัน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ยิ้ม ชมเชย ดวงตา สัมผัสและการสวัสดี
- ยิ้ม ทำให้เอนโดฟินหรือสารแห่งความสุขนั้นหลั่งออกมา สารนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งคือ growth hormone จะสังเกตได้ว่าใครถูกเลี้ยงดูมาดีจากความสูง เปรียบเทียบระหว่างพ่อแม่ลูก พูดถึงเรื่องความสูงแล้ว อาจารย์ก็แนะนำวิธีการเพิ่มความสูงในวัยเด็กมา มี 4 ขั้นตอน
1) นอนช่วงเวลา 3 ชั่วโมง ก่อนและหลังเที่ยงคืน
2) อารมณ์ดี Growth hormone จะหลั่งออกมา
3) ออกกำลังกาย แบบให้มีเหงื่อออกเยอะๆ
4) กินอาหารที่มีพลังชีวิตสูงๆ พวกผักสด ผลไม้สดทั้งหลาย
- ชมเชย เกิดคำถามขึ้นมาทันทีแล้วเอ๋ เด็กทำผิดนี้ชมได้ไหม ชมแล้วจะเกิดผลดีหรือเปล่า คำตอบคือชมได้และไม่ได้เป็นการโกหกด้วย เราชมในความพยายามของเขา แทนที่จะไปเล่นเกมเหมือนเด็กคนอื่นๆเขาก็มาเข้าเรียน ถึงแม้จะมาสายก็ตาม เราก็ชมแล้วบอกว่าถ้ามาเร็วกว่านี้อีกนิดนึงก็จะดีมากเลย
คนที่เจอคำลบๆตั้งแต่เด็กแล้วเก็บเข้าจิตใต้สำนึก เช่นมาริลิน มอนโร ที่ทุกคนต่างชื่นชมความสวยของเธอ แต่เธอก็ยังคงไปทำสัญกรรม ถึงแม้คนทั้งโลกจะบอกว่าเธอสวย แต่จะมีหนึ่งคนที่บอกว่าไม่สวยนั้นคือตัวเธอเอง จุดจบลงด้วยยาเสพติดเช่นเดียวกับไมเคิล แจ็คสัน และเอวีส พริสลี้

- ดวงตา สื่อถึงความจริงใจและความหวังดีที่เรามีต่ออีกฝ่ายหนึ่ง
- สัมผัส คนที่มีปัญหาต่างๆในสังคม ถ้าสอบถามจะพบว่าเขาเหล่านั้น ขาดการสัมผัสจากคนรอบตัวด้วยความรัก
- การไหว้เป็นสิ่งที่ทรงพลังมาก ถือเป็นการเคารพในความดี และความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง และตัวเราเอง

การทำให้เด็กเก่งทางลบ


1) การเปรียบเทียบ สาเหตุที่พี่น้องทะเลาะกันเพราะการเปรียบเทียบ
2) การใช้คำพูดทางลบ ยิ่งบอกเด็กว่าอย่าซนเขาจะซนมากขึ้น
3) การหลอกให้กลัว กลัวผี กลัวแดด ไม่ดีทั้งนั้น
4) การใช้ความรุนแรง
5) ความไม่สม่ำเสมอ อารมณ์ที่ไม่มั่นคง

ผมขอปิดท้ายบทความ Neo-humanist ด้วยคลิปสั้นๆของ Nick Vujicic หวังว่าทุกคนจะได้รับแรงบันดาลใจจากคลิปนี้ไม่มากก็น้อย แต่ละคนคงมีมุมมองกลับเรื่องราวของเขาแตกต่างกันไป อยากให้มองที่พ่อของเรา และตัวของนิคดู




ขอบคุณที่ติดตามอ่าน...บุญรักษาครับทุกท่าน