Friday, August 14, 2015

The Law of Success - Napolean Hill (อธิบายโดย ดร.บุญชัย โกศลธนากุล) [ข้อที่ 3 - 6]


กลับมาต่อเพิ่มอีก 4 ข้อ ของหนังสือขายดีตลอดการ The Law of Success จะสรุปทั้งหมดก่อนที่ทุกท่านจะอ่านบทความนี้ สิ่งที่สำคัญคือ "สติ" ตัวเดียวเลย ถ้าไม่อยากอ่านก็ไปฝึกสติอย่างเดียว ด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม แล้วแต่ถนัด หากไม่สะดวกเราสามารถฝึก กำหนดจิตไปกับแต่อริยาบทของเราในชีวิตประจำวันได้เช่นกัน

ข้อที่ 3. ความเชื่อมั่นในตนเอง

ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence) เวลาเราฟังคนบรรยาย ผู้พูดมีความมั่นใจ คนฟังก็จะคล้อยตามไปด้วย หรือแม้เวลาเจอพนักงานขายที่มีความมั่นใจ ก็ซื้อใจลูกค้าไปได้เกินครึ่งแล้ว

1) หาความรู้ทุกแง่ทุกมุมและทุกด้าน รู้อยากเดียวไม่พอต้องคิด
What are the success factors? อะไรคือปัจจัยของความสำเร็จ
What are the failure factors? อะไรคือปัจจัยแห่งความล้มเหลว
จะต้องคิดออกมาให้หมดก่อนจะเริ่มต้นงาน เพื่อนที่มักจะฟุ้งซ้าน วิตกจริตแนะนำให้ดึงมาร่วมพิจารณาด้วย เมื่อเรารู้ข้อดีข้อเสียแล้วเราก็จะเกิดความมั่นใจ
ความฉลาด = ความเชี่ยวชาญ (Expertise) + ทักษะ (Skill)
คนที่พูดหรือทำในสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญจะทำได้คล้องแคล้ว หากเราอยากเชี่ยวชาญด้านไหน ควรจะหาความรู้ให้รอบด้าน

2) ใจที่สะอาดและบริสุทธิ์ ไม่ได้ทำเพื่อประจบใคร เป็นจิตที่ทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด เท่าที่ตนเองจะทำได้ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อสิ่งต่างๆออกมาจากใจสิ่งนั้นจะมีพลัง แต่คนส่วนใหญ่มักจะพูดไม่ตรงกับความรู้สึก Speak from your Heart, not from your Head. พูดออกมาจากใจไม่ใช่ความคิด มนุษย์บางครั้งยึดติดกับความคิดมากเดินไป จนลืมดูความรู้สึก ความรู้สึกคือเพื่อนกัลยาณมิตร เป็นสิ่งที่จริงและจะคอยชี้แนะว่าสิ่งไหนควรทำ หรือสิ่งไหนไม่ควรทำ
ทำทุกสิ่งทุกอย่างจากใจที่มีคุณธรรม พลังพุทธจะปรากฎอย่างชัดเจน รู้ในสิ่งที่ใช่หรือไม่ใช่อย่างชัดเจน

3) ตัวเราเป็นเพียงแค่คนธรรมดา ต่างมีข้อบกพร่องด้วยกันทั้งสิ้น เราเพียงพยายามทำสิ่งต่างๆให้ผิดพลาดให้น้อยที่สุด เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเราคิดว่าเราเก่งมีความสามารถมาก เราจะไม่มีความเมตตาต่อคนที่ทำผิดหรืออ่อนแอกว่าเรา และที่สำคัญก็คือเวลาที่เราทำผิดเอง จะยอมรับสิ่งที่ตนเองทำไม่ได้ อย่ามีความมั่นใจกับตัวเองเกินไป คิดว่าเราสามารถทำผิดได้ตลอดเวลา ทำให้เราไม่ประมาท

4) ไม่หวังสิ่งต่างๆ ทรัพย์สิน การชื่นชมจากคนอื่น จิตเราไม่สะอาด เราคิดมากไปหลายสิบชั้น ระวังความคิดความรู้สึกคนอื่นที่มีต่อเราตลอด สิ่งที่เราทำหรือเราพูดจะไม่มีพลัง คนประเภทราคะจริต จะเก่งในการพูดคล้อง ฟังสะเนาะหู แต่คนส่วนใหญ่จะไม่เชื่อราคะจริตมากนัก เพราะหวังให้คนรักและชื่นชม ส่งผลให้เนื้อหาสาระที่ต้องการจะสื่อไม่กินใจผู้ฟังมากนัก ทำงานต่างๆด้วยจิตที่ว่างไม่มีตัวกูของกู

5) มีสติรู้ตัว รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ว่ากำลังพูดอะไร รู้นำเสียงพูดน่าฟังไม่น่าฟัง ผู้รู้หรือตัวรู้เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญมากที่สุด คนที่เกิดการรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาด้วยตนเอง สรุปคือฝึกตัวสติตัวเดียวก็จบ

การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ใช่การพูดว่า "เราจะต้องเชื่อมั่น เราจะต้องกล้าหาญ เราจะไม่กลัวใคร" เป็นการหลอกตัวเอง ไม่กินลึกไปถึงจิตใจ เป็นเพียงแค่เปลือกนอกเท่านั้น

ข้อที่ 4. มีนิสัยประหยัดอดออม

คนจีนจะบอกว่า "คนที่กระเป๋าเต็มพูดอะไรก็มีคนฟัง พูดเสียงดังด้วยความมั่นใจ" ถ้าเรามีเงินออมระดับหนึ่งให้เราไม่เดือดร้อน เราจะมีความสงบ มหาเศรษฐีต่างๆที่มีเงินมากกว่า 2000 ล้านบาทจะบอกเหมือนกันหมดเลยว่าทุกคนมีนิสัยประหยัดอดออมตั้งแต่เด็ก ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยซะด้วยซ้ำ เพื่อเรียนรู้คุณค่าของเงิน และอยู่เหนือเงินไม่ให้เงินมาบงการชีวิต ใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กลุ่มคนที่ถังแตก ต้องไปกู้หนี้ยืมสินคนอื่น คนเหล่านี้จะตกเป็นทาสของเงิน ทั้งชีวิตจะมีแต่เรื่องเงินและวัตถุ

คนที่มีการออมจิตใจจะสงบ ไม่ว้าวุ่น เป็นการฝึกความอดทน รู้จักอดเปรี้ยวไว้กินหวาน
ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการ เป็นคนที่ประหยัดอดออม ลูกน้องก็จะเป็นคนที่ประหยัดไปด้วย
เวลาเราเจอคนรวยแล้วขี้เหนี่ยว แต่จริงๆแล้วเขามีระบบการคิดหลายชั้นเพื่อแสดงออกถึงความประหยัด เพื่อที่จะได้ไม่ให้คนอื่นมาเอาเปรียบเขา ขอยืมเงินเขา หรือใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย

ในหนังสือเรื่อง Rich dad, Poor dad จะบอกไว้อย่างชัดเจนเลยว่า คนที่ตั้งใจจะร่ำรวย ประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องระวังเรื่องการผ่อนรถ ผ่อนบ้านไว้ให้ดี ซึ่งคนที่เริ่มจะผ่อนได้แสดงว่าเงินเดือนเริ่มเยอะแล้ว แต่ไม่ได้เยอะจริง ส่งผลให้โอกาสที่จะออกจากงานเป็นไปได้ยากแล้ว ถ้าจะผ่อนอะไร ต้องคิดอย่างชัดเจนก่อนว่าเราจะมีเงินพอ ถ้าจะต้องเปลี่ยนงาน

"มีน้อยใช้น้อย ค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มาก จะยากนาน"

ข้อที่ 5. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) ผู้นำที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะก่อให้เกิด แรงดลบันดาลใจแก่คนรอบข้างและลูกน้อง ทำให้ชีวิตมีสีสรรค์ มีเหตุมีผลว่าเราอยู่ไปทำไม ทำงานเพื่อองค์กรนี้ไปทำไม แต่สิ่งที่จะทำให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ ก็คือ

1) เลิกพลัดวันประกันพรุ่ง (น่าสนใจมากๆ) คนที่ดินพอกหางหมู จิตจะไม่ว่างแล้วความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร? คนประเภทวิดัจจริต คิดได้มากมายหลายเรื่อง แต่ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า อะไรคือไอเดียที่สำคัญ อะไรคือไอเดียที่ไม่สำคัญ คำแนะนำข้อแรกนี้เป็นเหมือนการปูพื้นฐานให้มั่นคง ก่อนที่จะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ [ความสงบในใจ: Inner Peace >> ปัญญาจะโลดแล่น มองเห็นโอกาสในชีวิต]

2) สังเกตตัวเอง ว่าความคิดดีๆของเรามันพุดขึ้นมาตอนไหน เช่นจากตอนที่เราได้อ่านหนังสือเงียบๆ หรือตอนที่เราได้คุยกับคนที่มีความคิดดีๆ เป็นต้น นักปราชญ์จะบอกไว้ว่าคนฉลาดจะต้องมีสมุดไว้จด ไอเดียที่เข้ามาในหัว เป็นการตอกย้ำความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3) ย้ำคิดย้ำทำในเรื่องนั้นตลอดเวลา ฉันทะ >> จิตตะ >> วิริยะ >> วิมังสา

4) ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ต้องคิดจากมโนภาพ จะทำให้เราเห็นสิ่งต่างๆได้แยบยนมากๆเลย สมมุติว่าเราจะคบใครซักคนหนึ่ง ให้เราลองคิดด้วยภาพ โดยธรรมชาติของมนุษย์เราสามารถที่จะคาดเดาได้ว่า ถ้าพูดสิ่งนั้นออกไป ฝั่งตรงข้ามจะตอบสนองกลับมาอย่างไร [พลังจิตของมนุษย์]

พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เคยบอกพระอานนท์ที่กังวลว่าพุทธศาสนาจะยังคงอยู่ต่อไปหรือไม่ ในวันที่พระพุทธเจ้าได้จากไปแล้ว ไว้เลยว่า "ถ้ายังมีคนจดจำเรื่องสติปัฏฐาน 4 ได้พุทธศาสนาจะยังคงยั่งยืนตลอดไป" 

อินทรีย์ 5 สติ สมาธิ-วิริยะ สัททา-ปัญญา ("-" ตือมาควบคู่กัน) พระพุทธเจ้าเน้นเรื่องวิริยะขอให้เราคิดดี มีความวิริยะ คอยยังประโยชน์ให้กับตัวเราและผู้อื่น เรื่องความคิดเป็นสิ่งที่ต้องระวังมาก ถ้าเราไม่ควบคุมความคิดเนี่ยส่วนใหญ่มันจะเป็นแต่ความคิดที่ไม่ดี เต็มไปด้วย วิวรณ์ 5 ตัวอิจฉา ริษยา, อาคาต พยาบาท, ง่วงหงาวหาวนอน, ฟุ้งซ้าน, กามตันหา ความสงสัยลังเล เกิดขึ้นตลอดเวลา

พระพุทธเจ้าจะให้เรามีสติตลอดเวลา ถ้าเรามีสติความคิดไม่ดีจะเกิดขึ้นไม่ได้ 
"มีแสงส่วงต้องไม่มีความมืด มีความมืดต้องไม่มีแสงสว่าง" Zero Sum Game 
ฝึกจิตของเรา คนที่มีการฝึกจิตมากๆจะมองโลกในแง่ดี มีความเปร่งปรัง มีความสดชื้น เขามีความทุกข์หากแต่ไม่ใส่ใจกับมัน ให้ไปลองคิดดูว่าสิ่งที่กล่าวมานั้นจริงหรือไม่

ข้อที่ 6. จินตนาการ

จินตนาการ (Imagine) หลายคนบอกว่าฝันกลางวันหรือเปล่า (Day Dreaming) สิ่งที่แตกต่างคือฝันกลางวัน ฝันหลายร้อยเรื่องในเวลาเดียวกัน แต่จินตนาการก็คือเพียงเรื่องเดียว 
ให้จินตนาการเรื่องเดียวหลายแง่มุม จดจ่อต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่สำคัญและแน่นอน
และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าว่า ฉันจะต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จให้ได้
ค่อยๆคิดและคิดด้วยภาพหรือมโนภาพ


 “อันของสูงแม้ปองต้องจิต ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้ฤๅ

ต้องมีการตั้งจิต ไม่งั้นจิตจะไม่เดินชีวิตจะเบื่อหนาย อยู่ไปวันๆ
จินตนาการเรื่องใดอย่าเที่ยวไปบอกใคร โลกภายนอกมีแต่คนที่สนสัย คิดว่าจะเป็นไปได้อย่างไร

ขอขอบคุณ ดร.บุญชัย โกศลธนากุล มา ณ ที่นี้ด้วย
เรียบเรียงใหม่โดย J. Burananit

No comments:

Post a Comment