ข้อที่ 11 ความคิดที่ถูกต้องแล้วเที่ยงตรง
ชีวิตคนเรานั้นสั้น การที่คนจะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนเอง และสภาพแวดล้อมที่ชัดเจน โลกนี้คือการเปรียบเทียบเลยว่าใครมีปรัชญาที่ถูกต้อง คนคนนั้นจะมีความคิด คำพูด การกระทำที่ถูกต้อง
ความคิดที่ถูกต้องแล้วเที่ยงตรง คือ ความสามารถที่จะแยกข้อเท็จจริง (Fact) ออกจากข้อคิดเห็นหรือการปรุงแต่ง โลกปัจจุบันเราต่างฟังวิทยุ ดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ จนบางครั้งเราไม่รู้ว่าอันไหนเป็นจริง อันไหนเป็นเท็จ
คนที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงได้นั้นจะต้องมี จิตที่เข้มแข็งก่อน เมื่อเผชิญหน้ากับความจริงนั้น กระเทือนอีโก้ ความเป็นตัวกูของกู หรือศักดิ์ศรีของเรา แต่เรายังนิ่งสงบยิ้มรับได้ นั้นคือจิตใจเรามีพลัง โอกาสในการแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาได้มากขึ้น
เป็นคนที่ไม่มองโลกขาวหรือดำอย่างสิ้นเชิง เขาจะมองโลกเป็นสีเทา คือเวลาฟังสิ่งที่ดีจะยิ้มรับไว้ แต่จะไม่หัวเราะร่าว่าสิ้งนั้นจะต้องใช่เลยตามที่เราคิดไว้ เพื่อนคนหนึ่งของเราอาจจะเป็นคนไม่ดี แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีส่วนดีเลยเป็นต้น ทั้งหมดนี้เกิดจากคุณภาพจิต ไม่ใช่เครื่องมือในการใช้แยกแยะข้อมูล
ไม่เชื่อข่าวลือที่คนอื่นเขาเชื่อกัน เด็จขาดคุณภาพของจิตต้องสูงเท่ามาตรฐานของหนังสือเล่มนี้ได้
จะต้องไม่ปล่อยให้ความหวาดวิตก ซึ่งทำให้เราเป็นคนย้ำคิดย้ำทำตลอดเวลา เพราะหลายครั้งสิ่งที่เราวิตกมากๆเนี่ย มันกลับกลายเป็นความจริง (Self-fulfilling phophecy) น่ากลัวมากๆ
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ เราส่วนใหญ่จะคิดว่าจะต้องมีข้อมูลที่มีเหตุมีผล จึงจะถือว่าเรื่องนั้นคือข้อเท็จจริง แต่หนังสือเล่มนี้กลับบอกไปในอีกทางหนึ่งที่แตกต่างออกไป
อย่าเชื่อเพราะตามกันมา อย่าเชื่อเพราะเป็นศาสดา อย่าเชื่อเพราะฟังดูแล้วมีเหตุมีผล อย่าเชื่อเพราะเหมือนกับที่เราคิดไว้เลย (เราจะไม่ปล่อยให้สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งที่ถูกต้องตลอดเวลา) เราจะต้องคิดพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เท่าที่ปัญญาของเราจะสามารถทำได้ ฟังหูไว้หู
เราต้องมีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เราอย่าไปโหมให้ไฟมันใหญ่ขึ้น สิ่งต่างๆที่ยุ่งกับอารมณ์เราอย่าไปยุ่งเด็จขาด อย่าไปสนใจข่าวนินทาเพราะคนที่ถูกนินทาต้องน้อยเนื้อตำใจแน่ๆ
ทำไมมนุษย์ไม่สามารถแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากข้อคิดเห็นได้ เพราะมนุษย์มักจะเอาคำว่าตัวกูของกูเข้าไปวุ่นวายเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองเข้าไปสัมผัส พระพุทธเจ้าจะบอกไว้เลยว่า สิ่งต่างๆที่เราได้เข้าไปสัมผัสมันเป็น ความจริงเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น (Partial Reality) ความจริงสูงสุดมันไม่มี
ความจริงในบางครั้งมันจริงในเดือนที่แล้ว แต่ตอนนี้เวลานี้วินาทีนี้มันอาจจะไม่จริงก็ได้ มนุษย์มีนิสัยที่จะด่วนตัดสินสิ่งต่างๆ จนลืมไปว่าความจริงสูงสุดในโลกมนุษย์เนี่ยมันไม่มี มันเกิดแล้วมันดับแล้วมันก็เปลี่ยนแล้ว ปัจจัยภายนอกเปลี่ยนตลอดเวลา ตัวเราเองก็เปลี่ยนตลอดเวลา
ข้อที่ 12 ความใจจดใจจ่อ
ความใจจดใจจ่อ (Attentiveness) สำคัญมากๆเลย เปรียบเสมือนแสงอาทิตย์ที่ผ่านกระจกนูน เมื่อแสงที่ผ่านโดนกระดาษ กระดาษก็จะไหม้ การที่เราจดจ้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พลังจิตและสมาธิมันจะเกิดพร้อมกันหมดเลย และจะเกิดปัญญาตามมา และเช่นกันตัวสติกับสมาธิจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีปัญญา เราต้องรู้ว่าเวลาไหนเราควรจะโพกัส ตัวสติ สมาธิ ปัญญาเป็นเนื้อเดียวกันเราจะแยกมันออกจากกันไม่ได้
พลังจิตคนเรามีมากมายมหาศาล ถ้าเราจดจ่อมากๆไม่ว่าเรื่องอะไรเราก็จะทำได้ทุกเรื่อง สมมุติง่ายๆเป็นการล้างจาน ถ้าเราล้างไปคิดเรื่องนุ้นเรื่องนี้จานอาจจะตกลงมาแตกก็ได้ หรือไม่อาจจะใช้เวลาล้างนานกว่าปกติ
"นาฬิกาทราย ทรายหมดทีละเม็ด ปฏิบัติงานทีละอย่าง" ให้จิตจ่อไปทีละเรื่องเสร็จแล้ว ค่อยย้ายจิตไปทำสิ่งต่อไป ความจดจ่อคือลงมือทำ ไม่ใช่อยากมีอยากได้ตลอดเวลา จิตโพกัสได้เรื่องเดียวเวลาเดียวเท่านั้น
ความจดจ่อของมนุษย์เราเกิดจากนิสัยนี้เอง เป็นพิมพ์เขียวในสมอง (ฺBlue print) ฝึกนิสัยให้เหมือนสายเคเบิลที่สานกันอย่างมั่นคง
คนฉลาดเวลาเข้าห้องมืดๆ เปิดไฟจุดตะเกียงทันที หมายถึงคนฉลาดเรียนรู้สิ่งดีๆ จะนำมันมาใช้ในทันที ทำซ้ำไปซ้ำมาจนเป็นนิสัยถาวรในแง่ดี
จะสร้างนิสัยได้จะต้องเห็นโทษ ของการวอกแวกทำอะไรหลายอย่างพร้อมๆกัน มันไม่มีผลดีต่อร่างกายและจิตใจเลย เครียดเป็นโรคหัวใจ โรคต่างสารพัด
คนจะมีความสุขและประสบความสำเร็จได้ คนคนนั้นจะต้องมี การเก็บกรอบความคิดที่ถูกต้องไว้ในหัว
และทำตามแนวความคิดที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุด
จะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเท่านั้น
ขอขอบคุณ ดร.บุญชัย โกศลธนากุล มา ณ ที่นี้ด้วย
เรียบเรียงใหม่โดย J. Burananit
เรียบเรียงใหม่โดย J. Burananit
No comments:
Post a Comment